กิจกรรมที่ 10 การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ
วัตถุประสงค์
แนวคิด
กรณีตัวอย่าง
หัวหน้าพาทบทวนคุณภาพ
กิจกรรมที่
1
กิจกรรมที่ 2
สรุปประเด็นและวางแผนต่อเนื่อง
ให้สมาชิกร่วมกันอภิปรายว่าโรคสำคัญที่ควรนำมาทบทวนว่าการดูแลผู้ป่วยที่ทำอยู่นั้นมีพื้นฐานทางวิชาการเพียงใดมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรจึงจะสามารถทบทวนสภาวะทางคลินิกดังกล่าวให้ครอบคลุมได้มากที่สุด และเมื่อพบว่ามี gap เกิดขึ้น
จะตัดสินใจอย่างไรว่าควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการที่ใช้อยู่เดิม จะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนได้อย่างไร
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
แนวคิด
การทำ CPG และ peer review ที่เป็นรูปแบบปกตินั้นยังไม่สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากเท่าที่ควร เครื่องมือง่ายๆ ที่ควรนำมาใช้ประโยชน์ได้แก่ Gap
Analysis ซึ่งใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างข้อแนะนำซึ่งเป็นความรู้ทางวิชาการ
กับสิ่งที่เป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง
เราสามารถกำหนดเป้าหมายของเราได้ว่าสิ่งที่ต้องการให้เป็นในสถานการณ์ของเราเป็นอย่างไร
และวางแผนดำเนินการเพื่อให้เกิดขึ้น
การใช้ Gap
Analysis เท่ากับเป็นการผนวกกิจกรรม 3 เรื่องเข้าไว้ในคราวเดียวกัน คือ
1)
ทบทวนสิ่งที่เราปฏิบัติอยู่ (peer
review) โดยทบทวนเป็นภาพรวม
ไม่ระบุชัดเจนว่าเป็นผู้ป่วยรายไหน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ทำให้ลดแรงต่อต้านลงไปได้ระดับหนึ่ง
2)
พิจารณาความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัย (scientific
evidence) ว่าควรนำไปใช้ในระดับใด
ไม่จำเป็นต้องถกเถียงกันว่าจะเขียน CPG ว่าอย่างไร
ไม่ต้องห่วงว่าทางแพทยสภาหรือราชวิทยาลัยจะไม่เห็นด้วย
ไม่ต้องห่วงว่าจะถูกเอาไปเป็นข้อมูลเพื่อการฟ้องร้อง
3)
เป็นการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (clinical
CQI) เปลี่ยนจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ไปสู่สิ่งที่ต้องการให้เป็น
นอกจากการผนวกกิจกรรมทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกันแล้ว สิ่งที่ทีมควรได้ประโยชน์จาก gap
analysis คือการพัฒนาได้ทีละมากๆ เรื่อง ไม่ต้องกังวลกับการหาข้อสรุปที่ทุกคนยอมรับ เพราะสิ่งที่ต้องการให้เป็นอาจจะเป็นเพียง “พยายามลดการใช้ยาต้านจุลชีพใน URI” ไม่ต้องกังวลว่าจะทำ CPGs
ออกมาในรูปแบบใดกรณีตัวอย่าง
มีข้อมูลระบุว่าการใช้ยา
NSAID
ในผู้ป่วย osteoathritis (OA) นั้นได้ผลไม่แตกต่างจาก
paracetamol แต่มีผลข้างเคียงมากกว่า
แพทย์ที่รับผิดชอบโรคกระดูกและข้อได้ตกลงร่วมกันว่าจะพยายามลดการใช้ NSAID
ในผู้ป่วย OA
ตัวอย่าง Gap Analysis สำหรับโรค Osteoarthritis
ข้อแนะนำ/ข้อมูลวิชาการ
|
สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
|
สิ่งที่ต้องการให้เป็น
|
แผนดำเนินการ
|
Paracetamol
ให้ผลเท่ากับ NSAID ในการบำบัดอาการปวดของ OA แต่มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
|
มีการใช้
NSAID
ควบคู่กับ Paracetamol เป็นส่วนใหญ่
|
ลดการใช้
NSAID
ในผู้ป่วย OA
|
-ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย
-ทดลองงดใช้ NSAID ในผู้ป่วยใหม่และกลุ่มที่สมัครใจ
-มีใบเตือนใจแพทย์
|
หัวหน้าพาทบทวนคุณภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อให้สมาชิกส
ามารถนำ gap
analysis มาวิเคราะห์ช่องว่างในการใช้ความรู้ทางวิชาการ
และนำไปสู่การปรับปรุงระบบการดูแลผู้ป่วย
กลุ่ม: สมาชิกทีมดูแลผู้ป่วยจากหน่วยงานและวิชาชีพต่างๆ
หรือในหอผู้ป่วยเดียวกัน
เวลา: 45 นาที 2 ครั้ง
กิจกรรมที่
1
การทบทวนการความรู้ทางวิชาการอาจจะเริ่มด้วยตัวความรู้ที่พบ
หรืออาจจะวิเคราะห์จากโรคที่มีความสำคัญตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1) วิเคราะห์โรคสำคัญ, 2) วิเคราะห์ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ, 3) วิเคราะห์เครื่องชี้วัดสำคัญ,
4) วิเคราะห์โอกาสพัฒนาจากแนวคิดการดูแลแบบองค์รวม/ทีมสหสาขาวิชาชีพ, จากเครื่องชี้วัด, จาก gap analysis กับข้อมูลวิชาการ, จากการทบทวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
1. วิเคราะห์โรคสำคัญ
ใช้เกณฑ์อะไรก็ได้ที่ทีมเห็นสมควร อาจจะเป็นโรคที่พบบ่อย
โรคที่มีความเสี่ยงสูง โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โรคที่ผลลัพธ์ของการดูแลยังไม่ดี
โรคที่ต้องการทีมสหสาขาวิชาชีพเข้ามาร่วมมากขึ้น
โรคที่ต้องดูแลต่อเนื่องหลังจำหน่าย
2.
วิเคราะห์ประเด็นสำคัญหรือความเสี่ยงสำคัญในแต่ละโรคย่อมแตกต่างกันออกไป อาจจะทบทวนอย่างง่ายๆ เช่น ไข้เลือดออกก็นึกถึง
shock, ไส้ติ่งอักเสบก็นึกถึงการวินิจฉับที่ไม่ถูกต้อง
ทำให้ผ่าตัดช้าและมีโอกาสเกิดการติดเชื้อแผลผ่าตัด, acute MI ก็นึกถึงการให้ยาละลายลิ่มเลือดให้เร็วที่สุด การดูแลให้พ้นภาวะวิกฤต,
คลอดก็นึกถึงการตกเลือดหลังคลอด, ทารกแรกเกิดก็นึกถึง
hyperbilirubinemia, ทารกคลอดก่อนกำหนดก็นึกถึง ROP, ผู้ป่วยที่ผ่าตัดสมองก็นึกถึงการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดซึ่งต้องใช้เวลานาน
เป็นต้น
นอกจากนั้น อาจจะทดลองใช้มิติคุณภาพเพื่อมาตรวจสอบว่าประเด็นสำคัญที่คิดไว้นั้น
ยังมีอะไรที่น่าจะเพิ่มเติมได้อีก มิติคุณภาพที่ควรนำมาพิจารณาได้แก่ accessibility
& timeliness, appropriateness, acceptability, competency, effectiveness,
efficiency, holistic & continuity, safety เป็นต้น
3.
วิเคราะห์เครื่องชี้วัดสำคัญ
จะได้มาจากประเด็นสำคัญหรือความเสี่ยงสำคัญ เช่น อัตรา shock ในผู้ป่วยไข้เลือดออก, ระยะเวลาตั้งแต่แรกรับจนผ่าตัดผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ,
ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย acute
MI, อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด และจำนวนเลือดที่ใช้ เป็นต้น
การวิเคราะห์เครื่องชี้วัดไม่ควรทำให้เป็นภาระมากเกินไป
ถ้าเป็นไปได้พยายามเลือกเครื่องชี้วัดที่มีข้อมูลบันทึกอยู่แล้ว
และเก็บข้อมูล retrospective สักจำนวนหนึ่ง หากสามารถสร้าง control chart ติดตามเป็นระยะได้ยิ่งดี
แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลในผู้ป่วยทุกราย หรือมีการติดตามทุกเดือน
4.
วิเคราะห์โอกาสพัฒนา ควรใช้วิธีการมองหลายๆ วิธีร่วมกัน
เพื่อให้สามารถทำในสิ่งที่ควรทำได้อย่างครบถ้วน และไม่เสียเวลาในสิ่งที่ไม่จำเป็น
1.1
จากแนวคิดแบบองค์รวม/ทีมสหสาขาวิชาชีพ
การมองด้วยมุมมองนี้จะทำให้ทุกสาขาวิชาชีพมีโอกาสเข้ามาร่วมมือกัน เช่น
แต่ละวิชาชีพอาจจะถามตัวเองว่า เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น
วิชาชีพของตนจะทำอะไรได้มากกว่าที่เป็นอยู่
หรืออาจจะถามว่าหากจะดูแลผู้ป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ
ครอบคลุมไปถึงครอบครัวแล้ว เราจะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น
1.2
จากเครื่องชี้วัด
ทีมจะต้องพิจารณาว่าเครื่องชี้วัดที่เป็นอยู่นั้น อยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่
มีโอกาสจะทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่
ถ้าเห็นว่ายอมรับไม่ได้ หรือยอมรับได้แต่มีโอกาสทำให้ดีขึ้น ทีมก็พิจารณาต่อว่าจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร
1.3
จากการทำ gap analysis ด้วยประเด็นสำคัญที่วิเคราะห์ไว้ในข้อ 2 ควรพยายามหาข้อมูลวิชาการจากแหล่งต่างๆ
มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ทีมงานปฏิบัติอยู่ว่าสอดคล้องหรือแตกต่างกัน หากแตกต่างกันสมควรมีการปรับปรุงหรือไม่ ถ้าปรับปรุงจะคาดหวังความเป็นไปได้สักเพียงใด
1.4
ในแต่ละโรคควรทบทวนว่าเคยเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
(adverse
event) อะไรขึ้นบ้าง
หรืออาจจะนำเวชะเบียนมาทบทวนว่ามีโอกาสพัฒนาตรงจุดใดให้ดีขึ้น โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ root cause คือพิจารณาสาเหตุที่เป็นปัจจัยพื้นฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบงาน
ที่เมื่อปรับปรุงแล้วจะช่วยป้องกันปัญหาได้
โดยอาศัยการพึ่งความจำและความตื่นตัวของบุคคลให้น้อยที่สุด
เมื่อได้โอกาสพัฒนาทั้งหมดแล้ว
ทีมนำทางคลินิกควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญหรือเร่งด่วน และมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบไปดำเนินการ
พร้อมทั้งจัดให้มีแนวทางการติดตามความก้าวหน้าที่เหมาะสม
ขอให้ทีมทดลองใช้แนวทางข้างต้นวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนาและดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางคลินิกอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งการกำหนดเครื่องชี้วัดทางคลินิกเฉพาะโรค
และการกำหนดความต้องการว่าต้องการข้อมูลวิชาการอะไรมาสนับสนุน
เมื่อได้ความต้องการที่ชัดเจนแล้ว
ให้ใช้ gap analysis เป็นเครื่องมือสำหรับกำหนดเป้าหมายการพัฒนาและกำหนดแนวทางการพัฒนา
กิจกรรมที่ 2
1. ให้สมาชิกศึกษาข้อแนะนำใน
CPG การดูแลผู้ป่วยเบาหวานซึ่งจัดทำโดยโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
และมหาวิทยาลัยมิชิแกน
พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
·
ทบทวนสิ่งที่ปฏิบัติในปัจจุบัน
เพื่อตรวจสอบว่ามีความแตกต่าง (gap) จากข้อแนะนำใน CPG อย่างไร
·
ในกรณีที่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ปฏิบัติกับข้อแนะนำใน
CPG
ให้ทำความเข้าใจเหตุผลของข้อแนะนำดังกล่าว
·
กำหนดสิ่งที่ต้องการให้เป็น ซึ่งมีความสามารถที่จะทำได้
(อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับข้อแนะนำใน CPG)
·
แผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าหมาย
2. ให้สมาชิกอภิปรายว่าแนวทางในการจัดการกับความแตกต่างและหลากหลายของข้อแนะนำใน
CPG จากแหล่งที่แตกต่างกันนั้น ควรเป็นอย่างไร และแนวทางในการเลือกแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและเป็นไปได้กับสถานการณ์ของโรงพยาบาลนั้น
ควรเป็นอย่างไร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น