:ความรู้เกี่ยวกับ HA

บทความ ความรู้เกี่ยวกับ HA (Hospital Accreditation)
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) คืออะไร
        คือกลไกกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล ควบคู่ไปกับการเรียนรู้แลกเปลี่ยน และการรับรองจากองค์กรภายนอก การรับรองเป็นเพียงส่วนเดียวและส่วนสุดท้ายของกระบวนการ แต่จุดสำคัญคือการกำหนดมาตรฐาน ตรวจสอบ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาล
มิติคุณภาพในการรับรอง
1.รับรองว่าโรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาคุณภาพ   ทุกคนรู้ว่าเป้าหมายอยู่ตรงไหน  บทบาทของตนเองคืออะไร    มีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2.รับรองว่าโรงพยาบาลมีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน   มาตรฐานนี้คือมาตรฐานของโรงพยาบาลเอง   โดยที่ต้องมีหลักประกันว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
3.รับรองว่าโรงพยาบาลมีระบบตรวจสอบตนเองที่น่าเชื่อถือ   ได้แก่การแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติตามระบบงานที่วางไว้   และมีการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น   มีการนำปัญหามาทบทวนปรึกษากับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อให้เกิดการแก้ไขและเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4.รับรองว่าโรงพยาบาลมีการบริหารงานที่เป็นระบบ  มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
5.รับรองว่าโรงพยาบาลมีกำลังคน สถานที่ และเครื่องมือ เหมาะสม   ความเหมาะสมของทรัพยากรคือความสอดคล้องกับพันธกิจและขอบเขตของโรงพยาบาล   ร่วมกันการมีกระบวนการบำรุงรักษาและพัฒนาเพื่อให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี download here
  • HA Update 2012 from 13th HA National Forum
รู้จัก SPA (Standard-Practice-Assessment)
SPA เป็นแนวทางสำหรับโรงพยาบาลในการนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีการขยายความมาตรฐานครอบคลุมแนวคิดที่ทีมงานควรศึกษาให้เข้าใจ ขั้นตอนในการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบการประเมินผลหรือเรียนรู้ที่ควรจะเกิดขึ้น  ลงท้ายด้วยประเด็นที่ควรตอบในแบบประเมินตนเองโดยสรุป
SPA ประกอบด้วย
S : Standard คือมาตรฐาน คือข้อกำหนดที่สถาบันฯ ได้กำหนดไว้
P : Practice คือ กิจกรรมที่สถาบันฯแนะนำให้ดำเนินการ ไม่ต้องปฏิบัติทั้งหมด แต่เลือกที่ตรงกับบริบท และง่ายที่สุดก่อน ค่อยๆ ทำจนครบ
A : การประเมินตนเองอย่างตรงประเด็น เป็นการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามกิจกรรมที่ปฏิบัติแล้ว
แนวคิดของ SPA
·       เน้นการมีกิจกรรมหรือกระบวนการพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ในขั้นต้น
·       เรียนรู้จากการใช้ประโยชน์กิจกรรมหรือกระบวนการเหล่านั้น เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกิจกรรมหรือกระบวนการให้เป็นระบบยิ่งขึ้น
·       กระบวนการที่เป็นระบบ (systematic approach) คือกระบวนการที่กำหนดขั้นตอน ผู้รับผิดชอบ และรอบเวลาดำเนินการที่ชัดเจน  ทำให้สามารถทำซ้ำได้เหมือนเดิม มีการวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสมเพื่อปรับปรุงกระบวนการนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น (ควรแยกแยะให้ชัดระหว่างการปรับปรุงกระบวนการด้านการจัดการภายในองค์กร กับกระบวนการด้านการให้บริการ)
·       สิ่งที่ระบุว่าเป็นแนวทางในการดำเนินการในเอกสารชุดนี้เป็นข้อเสนอให้ผู้นำและทีมงานของ รพ.พิจารณาเท่านั้น ควรเลือกดำเนินการเฉพาะเท่าที่จะเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับบริบทของ รพ.  แต่อย่างน้อยควรนำมาสู่ข้อมูลที่จะตอบในประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ได้
·       จุดเน้นในการตอบแบบประเมินตนเอง คือบทเรียนและผลลัพธ์ของการนำมาตรฐานไปปฏิบัติ ซึ่งบทเรียนนั้นควรผ่านการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญร่วมกันในทีมงานที่เกี่ยวข้อง นั่นคือการเน้นในส่วนของ context และ study หรือ learning ในวงล้อ PDSA โดยไม่ต้องบรรยายวิธีการหรือหลักคิด เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระในการจัดทำเอกสาร

ความคิดเห็น